จองทริป ครบ จบที่เดียว
ดาวน์โหลด Robinhood เลย

Download
ไหว้พระ 9 วัดพระนครศรีอยุธยา วันเดียวไหว้ครบ ไม่เหนื่อย ไม่รีบ ไหว้พระ 9 วัดพระนครศรีอยุธยา วันเดียวไหว้ครบ ไม่เหนื่อย ไม่รีบ

Trip Highlight

ไหว้พระ 9 วัดพระนครศรีอยุธยา วันเดียวไหว้ครบ ไม่เหนื่อย ไม่รีบ

วัดหน้าพระเมรุ 
วัดเดียวในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยาที่ไม่ถูกทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง 

วัดหันตรา จุดเด่นคือ อุโบสถมหาอุตม์ ที่เรียกว่า "โบสถ์แบบมหาอุตม์" เพราะเป็นพระอุโบสถที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

วิหารพระมงคลบพิตร  ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย

เมืองหลวงเก่า เมืองมรดกโลก เมืองที่เรามาเช้าเย็นกลับได้สบาย ๆ มาได้ทุกฤดูกาล ทุกเทศกาล โดยเฉพาะมาไหว้พระเสริมสิริมงคลให้ครบ 9 วัดในวันเดียว แนะนำเส้นทางไหว้พระวนเป็นวงกลมรอบเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ไม่รีบ ไม่เหนื่อย ได้สวดมนต์ทำบุญอย่างอิ่มเอมใจ พร้อมเช็คอินและถ่ายรูปไม่มีตกหล่นทุกพิกัด

Highlight Location

วัดอยุธยาที่น่าสนใจ

1

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล

​​​​​​​  เมื่อตรงเข้าสู่อำเภอเมืองของอยุธยา เจอวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้มอันเป็นเอกลักษณ์ เลี้ยวซ้ายไม่ไกลเราจะเจอ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดเก่าแก่แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติย้อนหลังไปไม่ต่ำกว่า 600 ปี เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ชัยมงคลที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงให้สร้างครั้งทรงมีชัยในยุทธหัตถี จุดเด่นที่เห็นแต่ไกลคือเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมี ตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ บริเวณรอบ ๆ มีสวนหย่อม จุดพักผ่อนหย่อนใจ และศาลาริมน้ำให้อาหารปลาอีกด้วย
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-17.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 0-3524-2640
ค่าเข้าชม : ไม่มี

ที่ตั้ง : 40/3 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS :  https://goo.gl/maps/isqkPEhTsCXvH7tu6

2

วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิง

ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองริมแม่น้ำป่าสักช่วงที่มาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา มองเห็นวิหารหลังใหญ่เด่นเป็นสง่าริมคุ้งน้ำ มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่และมีมาก่อนที่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่ละวันจะมีผู้คนจำนวนมากมากราบไหว้สักการะขอพร  "พระพุทธไตรรัตนนายก" หรือ  "หลวงพ่อโต" และคนจีนเรียกว่า  "หลวงพ่อซำปอกง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา และยังถือเป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-17.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 0-3524-3867-8
ค่าเข้าชม : ไม่มี

ที่ตั้ง : หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS :  https://goo.gl/maps/BArmRHdvmvzToTb87

3

 วิหารพระมงคลบพิตร ​​​​​​​

 วิหารพระมงคลบพิตร 

จุดเด่นสำคัญคือเป็นวัดเก่าแก่ในเขตกำแพงเมืองที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย เดิมเสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมดด้วยทองสำริดหุ้มทอง มีแกนเป็นอิฐ ส่วนผิวนอกบุด้วยสำริด ทำเป็นท่อน ๆ มาเชื่อมกัน ตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นรูปร่างคล้าย ๆ มณฑป
เวลาเปิด-ปิด : 08.30 น.–16.30 น.
เบอร์ติดต่อ : 0-3524-1689
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท

ที่ตั้ง : ถนนนเรศวร ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS :  https://goo.gl/maps/HAdNo14ZebNSHPbr9

4

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์

หนึ่งในมรดกโลก อดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณอยุธยา เดิมเคยเป็นพระราชวังสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดให้เป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเหมือนกับวัดพระแก้วในกรุงเทพมหานคร เอกลักษณ์ของวัดที่โดดเด่นและรู้ว่าเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์เพียงเห็นในภาพถ่าย คือเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา 3 องค์ เจดีย์ 2 องค์แรกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ส่วนองค์ที่ 3 สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 ถ้าอยู่เที่ยวถึงช่วงเย็นห้ามพลาดชมความสวยงามยามค่ำคืนของที่นี่ ทางอุทยานจะเปิดไฟตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น. แสงสีทองจะส่องสว่างไปรอบวัดต่าง ๆ อย่างสวยงามอลังการ นักท่องเที่ยวสามารถชมได้จากด้านนอกของอุทยานเท่านั้น เพราะอุทยานจะปิดให้เข้าชมเวลา 18.00 น.
เวลาเปิด-ปิด : 08.00-18.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 0 3524-2284, 0 3524-2286
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท

ที่ตั้ง : ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS :  https://goo.gl/maps/WjmsDwnU4835uRuFA

5

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

 ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่านทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระอารามหลวงซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว ช่วงปี พ.ศ. 1917 แต่ในตอนนั้นยังสร้างไม่เสร็จดี พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน หลังจากนั้นมีการสร้างต่อเติมกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์ประธาน และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดในช่วงปี พ.ศ. 1927 สิ่งที่โดดเด่นคือเศียรพระพุทธรูปหินทรายอายุกว่าร้อยปีในรากต้นโพธิ์ข้างวิหาร รวมถึงเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-16.30 น.
เบอร์ติดต่อ : 03524-2286
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท


ที่ตั้ง : เชิงสะพานป่าถ่าน ถนนนเรศวร ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS :  https://goo.gl/maps/uUCriY2vTZCaLKQC6

6

วัดหันตรา

วัดหันตรา

​​​​​​​ จุดเด่นคือ อุโบสถมหาอุตม์ ที่เรียกว่า "โบสถ์แบบมหาอุตม์" เพราะเป็นพระอุโบสถที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีประตูด้านหลังและไม่เจาะช่องหน้าต่าง เชื่อกันว่าใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลังที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งเดิมซึ่งเคยเป็นทุ่งหันตราแห่งนี้เป็นสถานที่ตั้งทัพรับศึก และเป็นที่ประชุมทัพสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เจ้าสามพระยา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อไปตีเมืองละแวก การสร้างพระเครื่องจึงเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจของเหล่าทหารกล้ากรุงศรีอยุธยา ดังที่เคยได้ยินชื่อติดปากมาจนถึงปัจจุบันว่า "พระยอดธง" ภายในอุโบสถ์มหาอุดยังมีพระประธานปางมารวิชัย ชื่อว่า "พระพุทธอนันตชินราช" และภาพจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับพุทธประวัติแก่พุทธศาสนิกชน
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-16.30 น.
เบอร์ติดต่อ : 0-3524-3013
ค่าเข้าชม : ไม่มี
ที่ตั้ง : 34 หมู่ 2 ตำบลหันตรา อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด GPS : https://goo.gl/maps/7e6nmUQu9EnYbL3Z7

7

วัดตึก ​​​​​​​

วัดตึก ​​​​​​​

วัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่าเป็น พระอารามของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ทรงสถาปนาขึ้นในราวปี พ.ศ. 2240-2249 โดยยังมีหลักฐานคือพระตำหนักที่ประทับปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ โบสถ์มหาอุตม์ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ในการลงอาคมของขลัง ปัจจุบันคงเหลืออยู่น้อยมากในประเทศไทย และ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งมีประชาชนผู้เคารพศรัทธาแวะเวียนกันมากราบสักการะอยู่ไม่ขาด
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-18.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 0 3532-2730-1
ค่าเข้าชม : ไม่มี
ที่ตั้ง : ตำบล ท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000 พระนครศรีอยุธยา
พิกัด : https://goo.gl/maps/K5VSxwZMb5SyT7gv5

8

วัดพิชัยสงคราม

วัดพิชัยสงคราม

​​​​​​​ ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1900 มีนามปรากฏในราชพงศาวดารว่า วัดพิชัย เปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดพิชัยสงคราม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 ครั้งบูรณะปฏิสังขรณ์เนื่องจากเป็นวัดร้างในช่วงปลายสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ที่ได้นามอย่างถือเอาเหตุผลที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากวัดพิชัยมาได้ นับว่าได้รับชัยชนะ จึงขนานนามวัดใหม่เป็นการเทิดพระเกียรติและเชิดชูเป็นอนุสรณ์สถาน พุทธศาสนิกชนนิยมเดินทางมาไหว้พระที่นี่ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้มีชัยชนะต่ออุปสรรคต่าง ๆ
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-16.30 น.
เบอร์ติดต่อ : 0-3524-2078
ค่าเข้าชม : ไม่มี

ที่ตั้ง : 48 ถ. อู่ทอง ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิกัด : https://goo.gl/maps/ykf5GQZDnFZx9xzS9

9

วัดหน้าพระเมรุ ​​​​​​​

วัดหน้าพระเมรุ ​​​​​​​

วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้น ณ สถานที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ยังเป็นเพียงวัดเดียวในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยาที่ไม่ถูกทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง เชื่อว่าเนื่องจากข้าศึกได้ใช้วัดหน้าพระเมรุเป็นที่ตั้งทัพ ทำให้สิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมตามแบบอยุธยาและพระพุทธรูปเก่าแก่ทั้งหลายยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนปัจจุบัน ภายในวัดมีสิ่งควรค่าแก่การชมมากมาย นับตั้งแต่พระอุโบสถแบบอยุธยาขนาดใหญ่ซึ่งมีเสาอยู่ภายใน รวมถึงพระประธานในพระอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยหล่อสำริดขนาดใหญ่ นามว่า  “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่ง
เวลาเปิด-ปิด : 08.30-17.30 น.
เบอร์ติดต่อ : 080-668-1070
ค่าเข้าชม : ไม่มี


ที่ตั้ง : ถนนอู่ทอง พระนครศรีอยุธยา (ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง)
พิกัด : https://goo.gl/maps/rdawgNwNzLATDRVA9

นอกจากวัดทั้ง 9 แห่งนี้แล้วยังมีวัดและที่เที่ยวอยุธยาเชิงประวัติศาสตร์อีกหลายแห่งให้คุณได้ไปสัมผัสความงดงามในอดีต สายบุญและสายประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาด

พระนครศรีอยุธยา มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์และที่เที่ยวในเมืองให้นักท่องเที่ยวได้เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมไปถึงวัดเก่าแก่อยุธยาที่คนที่มาจังหวัดนี้มักจะเดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใครที่ต้องการค้างคืน สามารถเลือกที่พักในเมืองและที่พักธรรมชาติในสไตล์แบบที่คุณชอบได้เลย

cms-img-20230105_s_bvAGG7Ke5n.webp
🏬ที่พักแนะนำ : “Krungsri River (SHA Extra Plus)” โรงแรมติดริมแม่น้ำ บรรยากาศดี และอาหารอร่อย
📱จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/KrungsriRiver
cms-img-20230105_s_cmEfzMOc9t.webp
🏬ที่พักแนะนำ : “Ayothaya Riverside Hotel” โรงแรมวิวแม่น้ำสวยสุดปัง ห้องพักกว้างขวาง พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

📱จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/Ayothaya
cms-img-20230105_s_HG14NOfFKp.webp
🏬ที่พักแนะนำ : “Athithara Homestay” โฮมสเตย์บ้านเรือนไทย ให้คุณนอนชมวิวริมแม่น้ำได้อย่างชิลๆ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่เงียบสงบ
📱จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/Athithara
cms-img-20230105_s_wL7L2Py3IK.webp
🏬ที่พักแนะนำ : “Classic Kameo Hotel & Serviced Apartments, Ayutthaya” โรงแรมเรียบหรูทันสมัย มีสระว่ายน้ำส่วนกลาง ให้ได้ว่ายแบบปล่อยใจจอย

📱จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/ClassicKameo
cms-img-20230105_s_4mYwMaE7hR.webp
🏬ที่พักแนะนำ : “Sala Ayutthaya” ที่พักสุดหรู ให้คุณได้นอนชมวิวสุดอลังการของริมแม่น้ำ และมีบริการที่เป็นเลิศ

📱จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/salaayutthaya
cms-img-20230105_s_1FxbJoCd7u.webp
อีกที่พักริมน้ำที่แนะนำคือ
​​​​​​​The Bank River House
จองผ่านมือถือได้ที่https://rbh.mobi/bankriver
ที่พัก

Stay at

Ayutthaya

Where to stay?

พักอยุธยาที่ไหนดี?

ค้นหาที่พักกับ Robinhood

Writer

ทัศนีย์ ยาวะประภาษ

ผู้หญิงหัวใจสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุกชนิด รักการอ่านและดอมดมกลิ่นกระดาษของหนังสือ พอๆ กับออกเดินทางไกลใกล้ พูดคุยกับตัวเอง นับดาวบนฟ้าบางคืนเมื่อความมืดส่องสว่าง

Comments

ความคิดเห็นจากผู้อ่าน
({{comment_all}} ความคิดเห็น)